หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ : www.prueyai.go.th
 
 



สภาพทั่วไป

สภาพทั่วไป

1. ด้านกายภาพ

            1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากอำเภอขุขันธ์ เป็นระยะทางประมาณ 14  กิโลเมตรและห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ 62 กิโลเมตรองค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ ตั้งอยู่ในบ้านปรือคันใต้ หมู่ที่ 14  ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง 6 ตำบล คือ ตำบลห้วยใต้ ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลตาอุด ตำบลกันทรอม ตำบลโคกตาลและตำบลตะเคียนราม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

    ทิศเหนือ ติดกับตำบลห้วยใต้ ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี แนวเขตแดนเริ่มต้นจากหลักไม้แก่นด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือบ้านมะขามบริเวณพิกัด VB 133173 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่านทางเกวียนสายบ้านปรือคันตะวันตกบ้านกระเบาบริเวณ VB 143176  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงจุดกึ่งกลางลำห้วยศาลาบริเวณพิกัด VB 153180 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามลำห้วยศาลาถึงบริเวณพิกัด VB 184159 ไปทางทิศตะวันออกถึงสามแยกสายบ้านหลัก–บ้านใหม่บริเวณ VB 191159  ตรงไปทางทิศตะวันออกถึงหลักไม้แก่นด้านทิศใต้หนองระบองบริเวณ  VB 196167 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตัดผ่านทางเกวียนสายบ้านหลัก-บ้านเคาะบริเวณพิกัด VB 235157  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สิ้นสุดที่หลักไม้แก่นบริเวณพิกัด VB 240155 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร

          ทิศตะวันออก ติดกับตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากหลักไม้แก่นบริเวณพิกัด VB  240155 ไปทางทิศใต้ตัดผ่านถนนสายบ้านโนนสมบูรณ์–บ้านกันทรอมน้อยบริเวณพิกัด VB 236107  ไปทางทิศใต้ตัดทางเกวียนบริเวณ VB 239088  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามสันเนินเขาสิ้นสุดที่ร่องน้ำโอแก้วบริเวณพิกัด VB 237046 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออก 18 กิโลเมตร

       ทิศใต้ ติดกับตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากร่องน้ำโอแก้วบริเวณพิกัด  VB  237046  ไปทางทิศตะวันตกไปตามสันเขาตัดผ่านถนนลูกรังเข้าศูนย์อพยพโอตราวบริเวณพิกัด  VB  213040  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงสันเขาบริเวณพิกัด VB  202030 วกตรงไปทางทิศเหนือถึงร่องน้ำโอตาลัดบริเวณพิกัด  VB  204060  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามร่องน้ำถึงบริเวณ

พิกัด VB 187077  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงร่องน้ำโอแก้วบริเวณพิกัด VB  195090  ตรงไปทางทิศเหนือถึงถนนสายละลมกันทรอมบริเวณพิกัด VB 194118  ไปทางตะวันตกตามถนนตัดผ่านห้วยศาลาบริเวณพิกัด VB 165117  ไปทางทิศตะวันออกตามถนนไปสิ้นสุดที่ถนนสายละลม–กันทรอมบริเวณพิกัด VB  140120  รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 5.5  กิโลเมตร

    ทิศตะวันตก ติดตำบลตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีแนวเริ่มต้นจากถนนสายบ้านละลม–บ้านกันทรอมบริเวณพิกัด  VB  140120  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตัดผ่านถนนสายบ้านคันตะวันตก–บ้านตะเคียนราม บริเวณพิกัด VB 134151 ไปทางทิศเหนือถึงสายบ้านมะขาม–บ้านตำหนักบริเวณพิกัด VB  132163ไปทางทิศเหนือสิ้นสุดที่หลักไม้แก่น บริเวณพิกัด VB  133173 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ  19  กิโลเมตร

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

          ตำบลปรือใหญ่มีพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้แนวเทือกเขาพนมดงรัก ทิศใต้ของตำบลเป็นพื้นที่สูงมีภูเขาตามแนวเทือกเขาพนมดงรักทำให้สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสลับที่ดอนลาดเอียงไปทางเหนือสำหรับทางตอนกลางและทางทิศเหนือของตำบลเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าวมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคภายในตำบลกระจายตามหมู่บ้านต่างๆเช่นห้วยศาลาหนองปรือใหญ่ (หมู่ที่ 1) หนองโพธิ์ (หมู่ที่ 8) อ่างเก็บน้ำบ้านเนินแสง (หมู่ที่ 11) อ่างเก็บน้ำบ้านแสนสุข (หมู่ที่ 12) หนองปรือ (หมู่ที่ 15) เป็นต้น  แหล่งน้ำธรรมชาติส่วนใหญ่จะแห้งและตื้นเขินในหน้าแล้งพื้นที่บางส่วนของตำบลได้ใช้ประโยชน์จากคลองส่งน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยศาลาซึ่งสามารถทำนาได้ปีละ 2  ครั้ง ( นาปี / นาปรัง ) แต่ในช่วงฤดูฝนมักประสบปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรสภาพดินของตำบลปรือใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สามารถระบายน้ำได้ดี

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ตำบลปรือใหญ่เป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีเทือกเขาพนมดงรักทำให้บริเวณจังหวัดศรีสะเกษ (รวมถึงตำบลปรือใหญ่) เป็นเขตเงาฝนมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าภาคอีสานตอนบน

1.4 ลักษณะของดิน

          ที่ดินของตำบลปรือใหญ่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดินนาประมาณร้อยละ 90.65 ของพื้นที่กลุ่มดินไร่ประมาณร้อยละ 7.46 % และอื่นๆ ร้อยละ1.88 ของพื้นที่สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายมีการระบายน้ำได้ดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำจึงต้องมีการบำรุงและฟื้นฟูสภาพดินมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกมากกว่าร้อยละ 95 ของพื้นที่ทางการเกษตร

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติ  ตำบลปรือใหญ่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ลำห้วย ลำคลอง หนองน้ำ ซึ่งกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ มีป่าไม้ชุมชนซึ่งมีการกระจัดกระจายตามหมู่บ้านต่าง ๆ

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

            2.1 เขตการปกครอง

            ตำบลปรือใหญ่ มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด  20  หมู่บ้าน

3. ประชากร

            3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ตำบลปรือใหญ่ มี 20 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,505 ครัวเรือน ประชากร 11,643 คน แยกเป็นประชากรชาย 5,810 คน ประชากรหญิง 5,833 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 140 คน/ตารางกิโลเมตร


 

 

- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 2668177 คน ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2563